พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562
พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562[1] แบ่งออกเป็นพื้นที่เจ็ดบริเวณที่แตกต่างกันเรียกว่า แอ่ง รวมถึงพื้นที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย จนถึงขณะนี้ มีพายุก่อตัวขึ้นทั่วโลกในระหว่างปีนี้ 38 ลูก ในจำนวนนั้นมีพายุ 24 ลูกเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังจนได้รับชื่อเรียกจากบรรดาศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาค (RSMC) หรือศูนย์เตือนพายุหมุนเขตร้อน (TCWC) ในพื้นที่พายุหมุนเขตร้อนที่เป็นเหตุให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนรุนแรงอิดาอีในมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตจำนวน 1,066 คนในประเทศโมซัมบิก ประเทศมาลาวี ประเทศซิมบับเว และประเทศมาดากัสการ์ ส่วนพายุที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุดของปี คือ พายุไซโคลนกำลังแรงวิรอนิกาในภูมิภาคออสเตรเลีย โดยมีความเสียหายเกิดขึ้น 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกิจกรรมพายุหมุนเขตร้อน[2] ในแต่ละแอ่งจะอยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ของศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคต่าง ๆ[3] ดังนี้ ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก, ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง (CPHC) รับผิดชอบพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง โดยทั้ง NHC และ CPHC เป็นหน่วยงานย่อยของบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติสหรัฐ, กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ขณะที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาฝรั่งเศสในเกาะเรอูนียง (MFR) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนในภูมิภาคออสเตรเลีย พายุหมุนเขตร้อนจะถูกติดตามโดย TCWC ห้าศูนย์ภายใต้การประสานงานของสำนักอุตุนิยมวิทยาออสเตรเลีย (BOM), กรมอุตุนิยมวิทยาฟีจี (FMS) และ เมทเซอร์วิสของนิวซีแลนด์ รวมถึงยังมีหน่วยงานที่ติดตามพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และหน่วยงานที่ตั้งชื่อพายุอย่างไม่เป็นทางการ คือ สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ด้วย

พายุหมุนเขตร้อนใน พ.ศ. 2562

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด ทั้งหมด 2,090 คน
ระบบแรก โมนา
ชื่อ โอมา
สลายตัว 2 มกราคม พ.ศ. 2563
ระยะเวลา 15 วัน
ก่อตัว 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ความกดอากาศต่ำที่สุด 905 mbar/hPa; 26.72 inHg
ความเสียหายทั้งหมด > 6.064 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD พ.ศ. 2562)
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พายุทั้งหมด 143 ลูก
ระบบสุดท้าย ซาไร
พายุที่ได้รับชื่อ 105 ลูก